หน้ากากผ้า ป้องกันโควิด ป้องกันฝุ่น PM2.5 แถมยังป้องกันสิวด้วย
เชื่อว่าหลายๆคนคงเคยเจอปัญหานี้กันนะคะ ทั้งปัญหาโควิดระบาด รวมถึงปัญหาฝุ่น PM2.5 ยิ่งทำให้เราต้องหาหน้ากากมาใส่กันทุกวัน แต่พอใส่นานๆ เอ๊ะ! ทำไมสิวเห่อเต็มหน้าเลยล่ะ
ก่อนจะไปถึงจุดนั้น เรามาดูชนิดของหน้ากากกันก่อนนะคะ
ชนิดของหน้ากาก ที่พบเจอในปัจจุบัน
ทุกวันนี้ มีหน้ากากสำหรับป้องกันจากเชื้อโรคต่างๆและ PM 2.5 ออกมามากมาย ที่เห็นได้บ่อยๆก็จะมีดังนี้ค่ะ
หน้ากากอนามัยสีต่างๆ ที่เห็นพบบ่อยที่สุดก็จะเป็นสีเขียว
หน้ากากฟองน้ำสีดำ
หน้ากาก N95
หน้ากากผ้าหลากหลายชนิด
สำหรับคนที่ใช้หน้ากากอนามัยแบบใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง ก็คงไม่ค่อยเจอปัญหาเท่าไหร่ เพราะใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้งเลย ซึ่งตามหลักแล้ว ก็ไม่ควรใช้เกิน 1 วันนะคะ
ข้อดีของหน้ากากอนามัยแบบใช้แล้วทิ้ง ก็คือ
- ปัญหาสิวก็จะน้อยลงค่ะ เพราะไม่ได้ใช้ซ้ำกันทุกวัน
- ป้องกันโควิดได้ค่อนข้างดี เพราะมีคุณสมบัติน้ำไม่ไหลผ่าน
พูดถึงข้อดีแล้ว ข้อเสียก็มีนะคะ
- หน้ากากอนามัยแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง มีช่องว่างให้ฝุ่นหรือเชื้อโรคต่างๆเข้า บริเวณสันจมูก และบริเวณแก้ม
- วัสดุที่ใช้ทำหน้ากากอนามัย เป็น พลาสติก ชนิดที่เรียกว่า Poly Propolene ทำให้เมื่อสวมใส่เป็นเวลานาน อาจรู้สึกระคายเคือง และไม่สบายกับผิวหน้า
- ในยุคนี้ การรักษาสิ่งแวดล้อมก็เป็นอีกเรื่องที่สำคัญ การใช้หน้ากากอนามัยแบบใช้แล้วทิ้ง เป็นการเพิ่มขยะให้โลกเป็นจำนวนไม่น้อยเลยทีเดียวค่ะ ลองคิดดูว่า หากมีคน 1 ล้านคน ใช้หน้ากากแบบใช้แล้วทิ้งในทุกๆวันเป็นเวลา 1 เดือน โลกจะมีขยะเพิ่มขึ้นอีกเท่าไหร่ แถมเป็นวัสดุที่ย่อยไม่ง่ายด้วยนะคะ
- ในช่วงที่มีความต้องการหน้ากากอนามัยเป็นจำนวนมาก แน่นอนว่าหลีกเลี่ยงไม่ได้เลยที่จะเจอปัญหาการปั่นราคาจากผู้ขาย ทำให้ปกติ หน้ากากอนามัย ที่ราคาไม่ได้สูงมากนัก จากราคาชิ้นละ 1-2 บาท กระโดดไปถึงชิ้นละ 10 บาทเลยก็มีค่ะ
- จากการตามข่าวทางโซเชียลบ่อยๆ ตอนนี้หน้ากากอนามัยที่ไม่ได้มาตรฐานมีเยอะขึ้นมากๆนะคะ อย่างคนในเฟสของเราเอง บางคนถึงขนาดต้องตัดหน้ากากอนามัยที่ซื้อมาก่อนใช้เลย ว่ามีกี่ชั้น สอดไส้ผ้าสปันบอนด์หรือเปล่า ส่วนมาก หน้ากากอนามัยที่ได้มาตรฐาน จะไม่ใช้ผ้าสปันบอนด์ค่ะ เนื่องจากจะมีความหนาแน่นสูงมาก ทำให้หายใจไม่สะดวก อีกทั้งยังมีรูพรุนที่ค่อนข้างกว้าง หากเป็นผ้าสปันบอนด์เพียงชั้นเดียว อาจไม่เพียงพอต่อการป้องกันโควิดค่ะ ทั้งนี้ ผ้าสปันบอนด์ สามารถทำหน้ากากได้ แต่จะต้องใช้หลายชั้น หากต้องการการปกป้องที่ได้มาตรฐานค่ะ
ส่วนหน้ากากฟองน้ำสีดำนั้น ประสิทธิภาพในการป้องกันค่อนข้างน้อย แพทย์หลายท่านได้แจ้งไว้ว่า ไม่สามารถกันโควิดได้ และไม่สามารถกันฝุ่น PM2.5 ได้ค่ะ
แน่นอนว่า จากทั้ง 4 ข้อที่กล่าวมา หน้ากาก N95 จะป้องกัน โควิด และ PM2.5 ได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด เนื่องจากมีความหนาของวัสดุสูง และสายรัดที่ค่อนข้างตึง
แต่ข้อเสียก็มีไม่น้อยนะคะ ลองมาดูกันค่ะ
- หาซื้อยาก ยิ่งในช่วงวิกฤติโรคระบาดนี้ หาซื้อตามห้างสรรพสินค้ายากมาก หรือหากมีก็จะราคาค่อนข้างสูง ต้องสั่งทางออนไลน์อย่างเดียว
- ใช้ซ้ำไม่ได้ มากที่สุดที่ใช้ซ้ำ ไม่ควรเกิน 2 วันนะคะ เพราะประสิทธิภาพจะลดลง และเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อโรคก็จะติดอยู่บริเวณหน้ากาก หากนำไปซักล้าง ก็จะสูญเสียประสิทธิภาพในการป้องกันไปค่ะ
- หายใจลำบากมาก ส่วนตัวเคยใช้อยู่ 1 สัปดาห์ค่ะ สุดท้าย ต้องเปลี่ยนไปใช้ชนิดอื่นแทน เพราะเคยใส่ขึ้นบันไดรถไฟฟ้าแล้วเหนื่อยมาก หรือแม้กระทั่งใส่เดินห้างนานๆ ก็จะหายใจไม่สะดวก และด้วยความที่สายรัดค่อนข้างแน่น ทำให้บริเวณผิวหน้าถูกกดเป็นรอย เวลาจะเข้าร้านอาหาร ไม่สะดวกเลยค่ะ เหมาะกับการใช้ระยะสั้นๆ ในพื้นที่ความเสี่ยงสูงมากกว่า
ดังนั้นแล้ว คนส่วนใหญ่จึงเริ่มหันมาให้ความสนใจกับหน้ากากผ้ากันมากขึ้นค่ะ
โดยเกณฑ์ในการเลือกหน้ากากผ้านั้น หากจะให้ป้องกันทั้งโควิด และ ฝุ่น PM2.5 ก็ควรพิจารณาจากคุณสมบัติเหล่านี้นะคะ
- ผ้าที่นำมาทำหน้ากาก ควรมีส่วนผสมของผ้าฝ้าย หรือ Cotton เพื่อความสบายขณะสวมใส่ ไม่ทำให้เกิดอาการระคายเคือง
- อย่างน้อยๆต้องมีชั้นของผ้า 2 ชั้น ยิ่งจำนวนชั้นเยอะ การป้องกันก็จะสูงตาม แต่อาจจะรู้สึกอึดอัด หายใจไม่สะดวกขณะสวมใส่ได้ค่ะ
- น้ำไม่สามารถไหลผ่านได้ หากต้องการการป้องกันโควิดได้เป็นอย่างดี ควรมีคุณสมบัติข้อนี้ค่ะ เพราะโควิด จะแพร่เชื้อจากทางเดินหายใจ รวมถึงสารคัดหลั่งจากการไอ หรือจาม เมื่อเวลาเราไอ หรือ จาม ก็จะมีสารคัดหลั่งออกมาโดยที่เราอาจไม่รู้ตัว การสวมใส่หน้ากากที่มีคุณสมบัติที่น้ำไม่สามารถไหลผ่านได้ ก็จะทำให้เวลาเราไอ หรือ จาม สารคัดหลั่งของเราก็จะไม่ฟุ้งกระจายไปทั่วบริเวณ หรือหากเราใส่หน้ากากที่มีคุณสมบัตินี้อยู่ ก็จะเป็นการป้องกันสารคัดหลั่งจากคนอื่นทะลุหน้ากากของเราเข้ามาได้ค่ะ
- ข้อนี้หาได้น้อยจากหน้ากากผ้าทั่วๆไปค่ะ หากมีคุณสมบัตินี้ได้จะดีมาก นั่นคือ Nano Zinc นั่นเอง
Nano Zinc คืออะไร?
ซิงค์ออกไซด์นาโน เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากกระบวนการเปลี่ยนขนาดอนุภาคซิงค์ออกไซด์ให้มีขนาดเล็กลงอยู่ในระดับอนุภาคนาโนเมตร มีลักษณะเป็นผงอนุภาคละเอียดมีขนาดอนุภาคเล็กระดับนาโนเมตร ( 10 – 9 เมตร ) มีความบริสุทธิ์สูง มีสีขาวและไม่เปลี่ยนสี สามารถป้องกันรังสี UV-A และ UV-B ต้านทานแบคทีเรีย (Anti-Bacteria)ระงับกลิ่นอันไม่พึงประสงค์นำไปใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆได้
ข้อดีของหน้ากากผ้าที่มี นาโนซิงค์
คุณสมบัติที่เด่นชัดที่สุดก็คือ ต้านทานแบคทีเรียได้หลายชนิด ดูจะเป็นคุณสมบัติข้อเดียวที่ค่อนข้างครอบคลุมหลายอย่างนะคะ เช่น เมื่อใส่หน้ากากผ้าที่มีส่วนผสมของนาโนซิงค์แล้วนั้น จะป้องกันการเกิดสิวได้อย่างมีประสิทธิภาพมากๆ สิว เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย P.acne ที่อยู่บริเวณผิวหน้าของเรา เมื่อใส่หน้ากากซ้ำๆกันเป็นเวลานาน แบคทีเรีย P.acne จะเติบโต ทำให้เกิดสิวบริเวณที่ใส่แมสได้ ส่วนคุณสมบัติอื่นๆก็คือ สามารถป้องกันกลิ่นไม่พึงประสงค์ได้ เคยมั้ยคะ เวลาเข้าร้านหมูกะทะหรือร้านอาหารต่างๆ เมื่อออกจากร้านแล้ว นำแมสมาใส่ จะได้กลิ่นของอาหารติดมาด้วย ทำให้รู้สึกไม่ค่อยสบายเท่าไหร่ที่จะนำมาสวมใส่ หน้ากากผ้าที่มีส่วนผสมของ นาโนซิงค์ จะช่วยลดกลิ่นจากอาหารได้ค่ะ
ถ้าไม่อยากใส่แมสแล้วเป็นสิว นอกจาก นาโนซิงค์ Nano Zinc แล้ว มีอย่างอื่นที่ทดแทนได้มั้ย
คำตอบคือมีค่ะ เช่น Nano Silver ก็จะมีประสิทธิภาพในการยับยั้งแบคทีเรียได้เช่นกัน ดังจะเห็นได้จากผงซักฟอกหลายยี่ห้อ ที่นำ Nano Silver มาเป็นส่วนประกอบด้วย เพื่อลดกลิ่นอับของผ้า แต่ข้อเสียของ Nano Silver ก็คือ Nano Silver เป็นโลหะหนักชนิดหนึ่ง มีรายงานว่า มีคนที่แพ้สารประเภทเงินหรือสารนี้ก็มีค่ะ แต่อาจพบได้ไม่บ่อยนัก
ข้อเสียของผ้าที่เคลือบ Nano Silver หรือเคลือบ Nano Oxide มีมั้ย
ข้อเสียหลักๆเลยก็คือ เมื่อนำหน้ากากผ้าที่เคลือบด้วย Nano Silver ไปซักล้าง Nano Silver หรือ Nano Oxide ที่เคลือบไว้ ก็จะค่อยๆหลุดไปตามจำนวนครั้งที่ซักล้าง หรือ การใช้แรงขยี้นั่นเองค่ะ
แล้วจะทำยังไงดี เมื่อซักแล้ว ประสิทธิภาพในการป้องกันแบคทีเรียก็ลดลง
ปัจจุบันนี้ มีนวัตกรรมใหม่แล้วนะคะ เป็นนวัตกรรมที่นำ Nano Zinc ไปปั่นร่วมกับเส้นใยของผ้า ทำให้ไม่ว่าจะซักล้างกี่ครั้ง ประสิทธิภาพในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรียก็ยังคงอยู่ ซึ่งแตกต่างจากการเคลือบเป็นอย่างมาก ต้องซักล้างมากกว่า 150-200 ครั้ง ประสิทธิภาพในการยับยั้งแบคทีเรียจึงจะค่อยๆลดลงค่ะ นับว่าเป็นนวัตกรรมที่ตอบโจทย์กับวิกฤติในปัจจุบันนี้ได้เป็นอย่างดี ทั้งวิกฤติโควิด และ วิกฤติ PM 2.5 ค่ะ
ข้อเสียของหน้ากากผ้าที่มี Nano Zinc ล่ะ มีไหม?
ข้อเสียของหน้ากากผ้าที่มี Nano Zinc ที่พบเจอคือ หลายแบรนด์ ไม่มีที่ดามจมูกค่ะ ทำให้เกิดช่องที่ฝุ่นหรือสารคัดหลั่ง สามารถเล็ดลอดเข้าไปได้
ข้อเสียอีกข้อก็คือ ราคาค่อนข้างสูง หากเทียบกับหน้ากากผ้าทั่วๆไป แต่หากคำนวณถึงความคุ้มค่าในการใช้ซ้ำ ที่สามารถซักล้างได้หลายครั้งโดยประสิทธิภาพยังคงเดิม ก็ค่อนข้างคุ้มค่าที่จะซื้อมาใช้นะคะ ทั้งป้องกันสิว ป้องกันโควิด ป้องกัน PM2.5 แถมยังเป็นการช่วยลดขยะให้โลกด้วยนะคะ
โดย แพทย์หญิงศุภรัตนา คุณานุสนธิ์ แพทย์ประจำโรงพยาบาลเวชธานีได้กล่าวไว้ว่า
หน้ากากผ้าฝังนาโนซิงค์ออกไซด์ถือเป็นนวัตกรรมใหม่ที่ผสานการใช้นาโนซิงค์ออกไซด์ฝังแน่นเข้าไปในเส้นใยเพื่อยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย สามารถซักและนำกลับมาใช้ได้
อย่างไรก็ตาม การใส่หน้ากากอนามัยไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อไวรัสได้ 100% ซึ่งขึ้นอยู่กับคุณภาพและการเลือกใช้วัสดุ รวมถึงวิธีการใช้อย่างถูกต้องของผู้ใช้ด้วย การใส่หน้ากากอนามัยจึงช่วยป้องกันและลดความเสี่ยงจากการติดเชื้อไวรัสจากการไอหรือจามในระดับหนึ่งเท่านั้น ซึ่งผู้ใช้ยังมีโอกาสเสี่ยงติดเชื้อได้
สงวนลิขสิทธิ์บทความโดย Nuage™ Thailand • copyright © 2021
STAY TUNED FOR
UPDATES
Please leave your e-mail to get our news.
CONTACT US
• Line id : @forevier
• FB.com/NuageThailand
• e-mail : forevierglobal@gmail.com
o
o
o
nuageworld.com